วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

การสอย


 การสอยซ่อนด้ายหมายถึง การทำชายผ้าให้สำเร็จวิธีหนึ่งโดยพับริมผ้าไปด้านใน  แล้วเย็บตรึงไว้ไม่ให้เห็นด้ายที่ผ้าด้านนอก มักใช้เย็บชายเสื้อ  ชายกระโปรง ชายกางเกง และ ปลายแขนเสื้อ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอยซ่อนด้าย
1. พับริมผ้าที่จะสอย  ร้อยด้ายผูกปม สอดเข็มลงในรอยพับของผ้า
2.  ดึงด้ายขึ้นมาด้านบน ดังภาพ
3. แทงเข็มเกี่ยวผ้าชั้นล่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อย
4. แล้วสอดเข็มเข้าไว้ในริมผ้าที่พับไว้ความยาวของฝีเข็มประมาณ 1/2 นิ้ว
5. ดึงเข็มขึ้นมา แล้วดึงด้ายขึ้นมาจนสุด
6. ทำเหมือนข้อ 3-4-5 จนสุดผ้า


ประโยชน์ของการสอยซ่อนด้าย


1.  ใช้สำหรับสอยชายเสื้อ

2.  ใช้สำหรับสอยปลายแขนเสื้อ

3.  ใช้สำหรับสอยชายกระโปรง 

4.  ใช้สำหรับสอยชายกางเกง



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
ครูจา (ขันธศิริ)
https://www.gotoknow.org/posts/247574

การด้นถอยหลัง

การด้นเป็นการเย็บผ้าด้วยมือ ที่ทำให้ตะเข็บแข็งแรงและมีฝีเข็มด้านหนึ่งคล้ายกับการเย็บด้วยจักร         การด้นถอยหลัง คือการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกัน โดยการแทงเข็มขึ้นและ  ย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลัง  ให้ฝีเข็มมีความยาวเพียง 1/2 ของฝีเข็มแรกแทงเข็มลงและดึงด้ายขึ้น

ขั้นตอนการด้นถอยหลัง

1. ร้อยด้ายผูกปม 
2. แทงเข็มจากด้านล่างขึ้นมา 
3. เว้นริมผ้าไว้นิดหน่อยสำหรับไว้เย็บถอยหลัง
4.  ดึงด้ายขึ้นมาปมจะอยู่ด้านล่าง และมีเนื้อที่ริมผ้าที่เว้นไว้
5. แทงเข็มย้อนลงด้านล่างตรงริมผ้าที่เว้นไว้
6. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจาก เส้นด้ายเล็กน้อย 
7. จะเห็นฝีเข็ม 1 ฝีเข็ม  
8. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจากเส้นด้ายเล็กน้อย
9. ทำเหมือนเดิมต่อไปจนเสร็จและช่องว่างสำหรับเย็บถอยหลัง



ประโยชน์ของการด้นถอยหลัง                                                    
1. ใช้แทนการเย็บจักร เพราะมีความหนาและแน่นมาก
 2. ใช้เย็บซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาด
 3. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
 4. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บวงแขนเสื้อที่ขาด
 5. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
 6. ใช้ในการเย็บสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเช่น ตุ๊กตา ถุงผ้า ฯลฯ

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/247545
http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

การเนาผ้า

การเนาคือการเย็บห่างๆพอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป 
เช่น เนาก่อนสอย เนาก่อนเย็บตะเข็บให้ติดกัน เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ 
เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ  เป็นต้น   
     การเนา เป็นขั้นตอนแรกของการเย็บผ้า เพราะการเนาจะทำให้ชิ้นส่วน 
ติดกันชั่วคราวก่อนการเย็บจริง  การเนามีส่วนดีคือ  ทำให้ผ้าไม่เคลื่อน   
เมื่อเย็บตะเข็บถาวรเสร็จแล้ว จึงดึงด้ายเนาออก 




 ขั้นตอนการเนาผ้า
     1.  ใช้เข็มร้อยด้ายยาวพอสมควรผูกปมที่ปลายด้ายข้างใดข้างหนึ่งให้เป็นปม
     2.  ทำเครื่องหมายบนผ้าตามแบบที่ต้องการเย็บ
     3.  เย็บโดยการแทงเข็มขึ้นและลงบนผ้าให้ระยะการแทงเข็มห่างเสมอกันเป็นแนวตรง
     4.  ดึงด้ายขึ้นแล้วเย็บต่อไปเหมือนเดิมจนเสร็จ
     5.  ตัดปลายด้ายด้วยกรรไกร
 ประโยชน์ของการเนาผ้า           
     1.  เป็นการเย็บผ้าให้ติดกันชั่วคราวไม่ให้ผ้าเคลื่อนที่
     2.  ช่วยในการเย็บตะเข็บถาวรให้ง่ายขึ้น เมื่อเย็บตะเข็บเรียบร้อยแล้วจึงเลาะด้ายที่เนาออก
     3.  เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ
     4.  เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/248851
http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=1640
http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html


วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเย็บ

     อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้งานตัดเย็บสำเร็จรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ให้เป็นและใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ทำ  เมื่อใช้แล้วต้องทำความสะอาดและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำออกมาใช้งานได้ ทุกเวลา  สิ่งที่ต้องปฏิบัติดังกล่าวนี้ มีผลต่อการตัดเย็บอันเป็นงานที่อาศัยฝีมือ  ความละเอียดเรียบร้อย  ความประณีต  ซึ่งเป็นการฝึกนิสัยที่ดีแก่ผู้เรียนอีกด้วย






หมอนปักเข็ม 
ควรมีชนิดที่กลัดติดเสื้อผ้าของผู้ทำงาน  หรือเป็นสายคาดติดข้อมือ ทำให้สะดวกในการปักเข็ม   และถอดออกมาใช้   ผ้าที่ทำหมอนปักเข็มควรใช้ผ้ากำมะหยี่ หรือ ผ้าขนสัตว์ ส่วนไส้หมอนเข็มควรยัดด้วยขนสัตว์หรือผมเพราะจะทำให้เข็มไม่เป็นสนิม
วิธีการใช้  ใช้ปักและเก็บเข็มชนิดต่าง ๆ เช่น  เข็มหมุด  เข็มสอยและเข็มอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดสนิม
การเก็บดูแลรักษา  จัดเก็บใส่กล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ  หรือในลิ้นชักจักร  



เข็มหมุด 
ควรเลือกชนิดที่ไม่เป็นสนิม  ปลายแหลมตัวเล็กแต่ยาว  ควรเลือกหัวเล็กหรือหัวแบนเพื่อให้แนบกับผ้า  เข็มหมุดใช้งานได้ 3  ลักษณะใช้กลัดแบบตัดผ้าก่อนการตัดใช้กลัดผ้าเพื่อเตรียมเนาและกลัดผ้าแทนการเนาเพื่อการเย็บผ้าหรือการสอย
วิธีการใช้  ใช้กลัดผ้าเพื่อเตรียมการเนา  เพื่อการกลัดแบบตัดควรกลัดให้ห่างจากเส้นที่ต้องการกดรอย  3-4  เซนติเมตร                                                                                                                     การเก็บดูแลรักษา ควรเก็บใส่กล่องเข็มหมุดหรือปักไว้บนหมอนปักเข็ม


เข็มเย็บด้วยมือ 
ช้สำหรับ เนา สอย  เย็บติดเครื่องเกาะเกี่ยวถักรังดุมเย็บในส่วนที่จักรเย็บไม่ได้  เข็มมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด ได้แก่ เข็มเบอร์  7-8  ใช้เย็บผ้าหนาและถักรังดุมเข็มเบอร์  9 ใช้เย็บผ้าหนาปานกลางเข็มเบอร์  10-11 ใช้เย็บผ้าบางเนื้อบางเข็มสำหรับสอยจะใช้ตั้งแต่เบอร์  9-11
วิธีการใช้  ใช้สำหรับ เนา สอย ติดเย็บเครื่องเกาะเกี่ยว ถักรังดุม
การเก็บดูแลรักษา  เข็มเย็บด้วยมือหลังจากการใช้  ถ้าจัดเก็บไม่ถูกต้องจะทำให้เป็นสนิม  เข็มที่เป็นสนิมไม่ควรนำมาใช้งานเพราะจะทำให้สนิมติดผ้า  ซักออกยาก เพื่อยืดอายุการใช้งาน ของเข็มที่เย็บด้วยมือ  เข็มที่ใช้งานบ่อย ๆ ควรเก็บใส่กล่องเข็ม ก่อนการเก็บควรเช็ดเข็มให้แห้ง หรือเช็ดด้วยน้ำมันจักร  การปักเข็มไว้ที่หมอนเข็มหลักจากการใช้งานโดยไม่เช็ดเข็มจะทำให้เข็มเกิดสนิม  ได้ง่าย  เนื่องจากเข็มทำด้วยเหล็กจึงทำปฏิกิริยากับสิ่งเปียกชื้นคือเหงื่อและอากาศ





ด้ายเย็บผ้า  
เป็นอุปกรณ์ตัดเย็บสำคัญ  ที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนของเสื้อผ้าให้ติดกัน  มีหลายชนิด หลายสี 
หลายขนาดให้เลือกใช้  เมื่อจะใช้งานควรพิจารณา ให้เหมาะสมกับสี ความหนาของผ้า และขนาดของเข็ม  ด้ายที่นิยมใช้กับผ้าเกือบทุกชนิด  คือเบอร์  60 
วิธีการใช้  ควรเลือกสีด้ายให้เหมาะกับผ้า  ด้ายใช้เย็บผ้าทั่ว ๆ ไปคือเบอร์  60
การเก็บดูแลรักษา  ก่อนการเก็บหลอดด้าย  ควรนำปลายด้ายสอดไว้ในรอยบากหรือที่เก็บด้าย  ถ้าหลอดด้ายแบบไม่มีรอยบาก  ใช้เทปใสปิดปลายด้ายให้ติดกับหลอดด้าย ควรเก็บด้ายในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บหรือในลิ้นชักจักร




กรรไกรด้ามโค้ง  
เป็นกรรไกรที่ตัดได้เที่ยงตรงกว่ากรรไกรชนิดอื่น  เพราะใบกรรไกรขนานกับผ้าในขณะตัดผ้า   ข้อควรระวัง  ต้องให้กรรไกรมีความคมเท่ากันตั้งแต่โคนถึงปลายจะตัดผ้าได้ริมเรียบ
วิธีการใช้  ใช้สำหรับตัดผ้า  ควรระวังไม่ให้กรรไกรตก ไม่ควรตัดผ้าซ้อนทีละหลายชั้นหรือใช้กรรไกรตัดวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ผ้า  เพราะจะส่งผลให้กรรไกรเสียคม  ขณะใช้งานควรวางเบา ๆ
การเก็บดูแลรักษา  ควรเก็บกรรไกรไว้ในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บหรือเก็บในลิ้นชักจักร ก่อนเก็บควรเช็ดละอองผ้าที่จับอยู่ที่กรรไกรและเช็ดด้วยน้ำมันจักรเพื่อป้องกันการเป็นสนิม



ดินสอ  
ใช้สำหรับทำเครื่องหมายและขีดเส้นต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างแบบควรเหลาดินสอให้แหลมเพื่อความคมชัดของเส้น  ไม่ควรใช้ดินสอที่ไส้อ่อนจนเกินไปจะทำให้ทู่เร็ว ดินสอที่ไส้แข็งเกินไปทำให้กระดาษสร้างแบบขาดได้ง่ายและมองไม่ชัดเจน
วิธีการใช้  ใช้ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายในการสร้างแบบตัด
การเก็บดูแลรักษา  ควรจัดเก็บไว้กับยางลบใส่ไว้ในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ



ไม้ฉาก  
มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้และพลาสติกใส  มีความยาวตั้งแต่  6  เซนติเมตรขึ้นไป  มีหน่วยวัดข้างหนึ่งเป็นนิ้ว ข้างหนึ่งเป็นเซนติเมตรเช่นเดียวกับไม้บรรทัด 
วิธีการใช้  ใช้สำหรับทำมุมที่ต้องการให้เป็นมุมฉาก  หรือขีดเกรนผ้าบนแบบตัด
การเก็บดูแลรักษา  ควรจัดเก็บในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บให้เรียบร้อย  ถ้าเป็นไม้ฉากที่ทำด้วยพลาสติก  ควรระวังรอยขูดขีดและการหัก


ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง

http://my.dek-d.com/jantana59
http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Pincushion-Tomato.jpg
apkxda.com
archive.4plebs.org
iamveho.exteen.com
pimolchai.com
http://prthai.com/

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธีทำถุงหูรูด


 วิธีทำถุงหูรูด

ในภาพเป็นวิธีการสาธิตตัวอย่างการทำถุงหูรูดให้กับถุงผ้า
ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปสามารถทำตามภาพ
หรือนำไปประยุกต์ใช้เวลาเราทำถุงผ้าได้





ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
kung - http://www.yesiquilt.com/
หนังสือนิตยสารงานฝีมือญี่ปุ่น

วิธีการเลือกซื้อผ้า


วิธีการเลือกซื้อผ้า

1. เลือกคุณสมบัติของผ้าตามวัตถุประสงค์ที่ต้องใช้  
2. ศึกษาข้อความที่เขียนติดมากับผ้าและริมผ้าอย่างละเอียด 
3. สังเกตด้วยตาและการจับต้อง 
4กะปริมาณของผ้าให้พอดีกับงานที่ใช้  
5. โอกาสใช้สอย  
6.  ความทนทาน 
7.  ความสบาย 
8.  ความสวยงาม 
9.  ความทันสมัย 
10. งบประมาณ  
11. แหล่งผลิต

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
http://www.kr.ac.th/ebook/vilaivan/b4.htm

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

แหล่งซื้อผ้า

  


แหล่งผ้า
แหล่งผ้าที่สามารถหาซื้อผ้ามาทำถุงผ้าแฮนด์เมดได้ ก็มีหลายที่มากมายในกรุงเทพ 
ไม่ว่าจะเป็น สำเพ็ง พาหุรัด วัดสน ตลาดโบ๊เบ๊ แต่ละที่ก็เป็นแหล่งซื้อผ้าชั้นนำ
ที่สามารถไปหาซื้อกันได้ในกรุงเทพ

1. ตลาดสำเพ็ง

ในปัจจุบันนี้เป็นศูนย์รวมของสินค้าจำนวนมาก สายหลักของสำเพ็งที่ 
คึกคักตั้งอยู่ที่ถนนมังกรและถนนผลิตผลใกล้เยาวราช กับถนนวานิชซึ่งต่อเนื่องไป  
ถึงพาหุรัดได้ สินค้าที่ขายในสำเพ็งส่วนใหญ่เป็นสินค้ากิฟช็อป ตุ๊กตา ของเล่น 
เครื่องเขียน เครื่องประดับ กิ๊บติดผม กระเป๋า รองเท้า อุปกรณ์ของใช้ในบ้าน      
ดอกไม้ปลอม อาหารแห้ง ที่มีน้อยจะเป็นพวกเสื้อผ้าซึ่งไม่เน้นกันเท่าใด   
โดยฝั่งเยาวราชจะมีกิฟช็อป เครื่องเขียน ตุ๊กตาและรองเท้าขายอยู่มาก   
ส่วนอีกฝั่งที่อยู่ติดกับพาหุรัดจะเน้นขายผ้าเป็นหลัก ตลาดสำเพ็งเปิดบริการทุกวัน
ไม่มีวันหยุด ตั้งแต่แปดโมงเช้าจนถึงห้าโมงเย็น โดยจะปิดทำการเฉพาะช่วงสงกรานต์

พาหุรัด
พาหุรัดเป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด 
อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย-การแสดงนาฏศิลป์      
ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีคนหลายๆคน                                      
ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น ลิตเติ้ล อินเดียเมืองไทย

วัดสน
 วัดสนเป็นแหล่งที่ขายผ้าเยอะเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ผ้ายืด
นับว่าป็นแหล่งขายผ้ายืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยก็ว่าได้ เหมาะสำหรับ
 คนที่ทำธุรดิจเสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ ซึ่งที่นี่ก็มีผ้าให้เลือกมากมายหลากหลายแบบ
 หลากหลายประเภทด้วย

ตลาดโบ๊เบ๊
โบ๊เบ๊ เป็นอีกที่หนึ่งที่เป็นตลาดขายส่งผ้าที่ราคาถูกที่สุดแห่งนึงในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
 มีทั้งผ้าดิบ ผ้าสำเร็จรูป มีหลากหลายแบบให้เลือก และ ราคาก็ยังถูกกว่าที่อื่นๆ อีกด้วย
 ตลาดโบ๊เบ๊ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงระหว่างสะพานกษัตริย์ศึกกับตลาดมหานาค
 มีเสื้อผ้าจำหน่ายทุกชนิดโดยส่วนใหญ่จะเน้นขายแบบยกโหล และราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ
 เป็นแหล่งขายส่งที่พ่อค้าแม่ค้าตลอดจนประชาชนทั่วไปนิยมมาจับจ่ายซื้อหามากที่สุด   

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
http://office.bangkok.go.th/pomprap
 http://th.wikipedia.org/

Comment

Formulir Kontak

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Instagram

Popular Posts