วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การปักเดินเส้นลายโซ่

การปักลูกโซ่ เป็นการปักลวยลายเพื่อเป็นแนวเส้นตกแต่งชิ้นงานให้สวยงามและใช้ปักเป็นกรอบรอบๆลายปัก เพื่อให้เกิดแนวกรอบที่หนาขึ้น



 วิธีการขมวดปมด้าย 
 
ก่อนเย็บผ้าให้ขมวดปมด้ายด้านยาวก่อนเย็บเพื่อยึดด้ายให้ติดกับผ้าก่อนเย็บซึ่งมีวิธีการขมวดปมด้าย ดังนี้



             1. จับปลายเส้นด้ายด้านที่ยาวกว่า
            2. ใช้ส่วนปบายด้ายพันรอบนิ้วชี้  1  รอบ
              3. ม้วนให้ปลายเส้นด้ายสอดเข้าให้รอบห่วงที่นิ้วแล้วปลดด้ายออกจากนิ้ว
              4. รูดปมห่วงให้มาสุดที่ปลายเส้นด้าย


ขั้นตอนการปักลูกโซ่

1.  นำเข้มที่ขมวดปมแล้วแทงขึ้นที่หมายเลข 1 ตวัดด้ายให้เป็นวงแล้วแทงลงที่หมายเลข 2 ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับหมายเลข 1 สอดเข็มใต้ผ้าแล้วแทงเข็มขึ้นที่หมายเลข 3 ดึงด้ายให้ตึง

 2.  ตวัดด้ายให้เป็นวงแล้วแทงลงที่หมายเลข 4 ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับหมายเลข 3  สอดเข็มใต้ผ้าแล้วแทงเข็มขึ้น
ที่หมายเลข 5 ดึงด้ายให้ตึง



  3.  ทำแบบเดียวกันต่อไปเรื่อยๆจนได้แบบลูกโซ่ตามต้องการ

ประโยชน์ของการปักลายโซ่
1. ใช้ปักลวดลายเป็นแนวเส้นเพื่อตกแต่งชิ้นงานให้สวยงาม
2. ใช้ปักเป็นกรอบรอบๆลายปัก เพื่อให้เกิดแนวกรอบที่หนาขึ้น





ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

http://www.sahavicha.com/: เตือนใจ เหล่าสุวรรณ

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

การสอย


 การสอยซ่อนด้ายหมายถึง การทำชายผ้าให้สำเร็จวิธีหนึ่งโดยพับริมผ้าไปด้านใน  แล้วเย็บตรึงไว้ไม่ให้เห็นด้ายที่ผ้าด้านนอก มักใช้เย็บชายเสื้อ  ชายกระโปรง ชายกางเกง และ ปลายแขนเสื้อ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอยซ่อนด้าย
1. พับริมผ้าที่จะสอย  ร้อยด้ายผูกปม สอดเข็มลงในรอยพับของผ้า
2.  ดึงด้ายขึ้นมาด้านบน ดังภาพ
3. แทงเข็มเกี่ยวผ้าชั้นล่างขึ้นมาเพียงเล็กน้อย
4. แล้วสอดเข็มเข้าไว้ในริมผ้าที่พับไว้ความยาวของฝีเข็มประมาณ 1/2 นิ้ว
5. ดึงเข็มขึ้นมา แล้วดึงด้ายขึ้นมาจนสุด
6. ทำเหมือนข้อ 3-4-5 จนสุดผ้า


ประโยชน์ของการสอยซ่อนด้าย


1.  ใช้สำหรับสอยชายเสื้อ

2.  ใช้สำหรับสอยปลายแขนเสื้อ

3.  ใช้สำหรับสอยชายกระโปรง 

4.  ใช้สำหรับสอยชายกางเกง



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
ครูจา (ขันธศิริ)
https://www.gotoknow.org/posts/247574

การด้นถอยหลัง

การด้นเป็นการเย็บผ้าด้วยมือ ที่ทำให้ตะเข็บแข็งแรงและมีฝีเข็มด้านหนึ่งคล้ายกับการเย็บด้วยจักร         การด้นถอยหลัง คือการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกัน โดยการแทงเข็มขึ้นและ  ย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลัง  ให้ฝีเข็มมีความยาวเพียง 1/2 ของฝีเข็มแรกแทงเข็มลงและดึงด้ายขึ้น

ขั้นตอนการด้นถอยหลัง

1. ร้อยด้ายผูกปม 
2. แทงเข็มจากด้านล่างขึ้นมา 
3. เว้นริมผ้าไว้นิดหน่อยสำหรับไว้เย็บถอยหลัง
4.  ดึงด้ายขึ้นมาปมจะอยู่ด้านล่าง และมีเนื้อที่ริมผ้าที่เว้นไว้
5. แทงเข็มย้อนลงด้านล่างตรงริมผ้าที่เว้นไว้
6. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจาก เส้นด้ายเล็กน้อย 
7. จะเห็นฝีเข็ม 1 ฝีเข็ม  
8. แล้วแทงเข็มขึ้นมาด้านบนห่างจากเส้นด้ายเล็กน้อย
9. ทำเหมือนเดิมต่อไปจนเสร็จและช่องว่างสำหรับเย็บถอยหลัง



ประโยชน์ของการด้นถอยหลัง                                                    
1. ใช้แทนการเย็บจักร เพราะมีความหนาและแน่นมาก
 2. ใช้เย็บซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาด
 3. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
 4. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บวงแขนเสื้อที่ขาด
 5. ใช้เย็บซ่อมแซมตะเข็บเสื้อที่ขาด
 6. ใช้ในการเย็บสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเช่น ตุ๊กตา ถุงผ้า ฯลฯ

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/247545
http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html

การเนาผ้า

การเนาคือการเย็บห่างๆพอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป 
เช่น เนาก่อนสอย เนาก่อนเย็บตะเข็บให้ติดกัน เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ 
เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ  เป็นต้น   
     การเนา เป็นขั้นตอนแรกของการเย็บผ้า เพราะการเนาจะทำให้ชิ้นส่วน 
ติดกันชั่วคราวก่อนการเย็บจริง  การเนามีส่วนดีคือ  ทำให้ผ้าไม่เคลื่อน   
เมื่อเย็บตะเข็บถาวรเสร็จแล้ว จึงดึงด้ายเนาออก 




 ขั้นตอนการเนาผ้า
     1.  ใช้เข็มร้อยด้ายยาวพอสมควรผูกปมที่ปลายด้ายข้างใดข้างหนึ่งให้เป็นปม
     2.  ทำเครื่องหมายบนผ้าตามแบบที่ต้องการเย็บ
     3.  เย็บโดยการแทงเข็มขึ้นและลงบนผ้าให้ระยะการแทงเข็มห่างเสมอกันเป็นแนวตรง
     4.  ดึงด้ายขึ้นแล้วเย็บต่อไปเหมือนเดิมจนเสร็จ
     5.  ตัดปลายด้ายด้วยกรรไกร
 ประโยชน์ของการเนาผ้า           
     1.  เป็นการเย็บผ้าให้ติดกันชั่วคราวไม่ให้ผ้าเคลื่อนที่
     2.  ช่วยในการเย็บตะเข็บถาวรให้ง่ายขึ้น เมื่อเย็บตะเข็บเรียบร้อยแล้วจึงเลาะด้ายที่เนาออก
     3.  เนาเพื่อทำเครื่องหมายในการเย็บ
     4.  เนาเพื่อให้เกิดการรูดจีบ



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/248851
http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=1640
http://www.tuifino.com/sawhand/sawhand.html


วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเย็บ

     อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้งานตัดเย็บสำเร็จรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ให้เป็นและใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ทำ  เมื่อใช้แล้วต้องทำความสะอาดและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำออกมาใช้งานได้ ทุกเวลา  สิ่งที่ต้องปฏิบัติดังกล่าวนี้ มีผลต่อการตัดเย็บอันเป็นงานที่อาศัยฝีมือ  ความละเอียดเรียบร้อย  ความประณีต  ซึ่งเป็นการฝึกนิสัยที่ดีแก่ผู้เรียนอีกด้วย






หมอนปักเข็ม 
ควรมีชนิดที่กลัดติดเสื้อผ้าของผู้ทำงาน  หรือเป็นสายคาดติดข้อมือ ทำให้สะดวกในการปักเข็ม   และถอดออกมาใช้   ผ้าที่ทำหมอนปักเข็มควรใช้ผ้ากำมะหยี่ หรือ ผ้าขนสัตว์ ส่วนไส้หมอนเข็มควรยัดด้วยขนสัตว์หรือผมเพราะจะทำให้เข็มไม่เป็นสนิม
วิธีการใช้  ใช้ปักและเก็บเข็มชนิดต่าง ๆ เช่น  เข็มหมุด  เข็มสอยและเข็มอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดสนิม
การเก็บดูแลรักษา  จัดเก็บใส่กล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ  หรือในลิ้นชักจักร  



เข็มหมุด 
ควรเลือกชนิดที่ไม่เป็นสนิม  ปลายแหลมตัวเล็กแต่ยาว  ควรเลือกหัวเล็กหรือหัวแบนเพื่อให้แนบกับผ้า  เข็มหมุดใช้งานได้ 3  ลักษณะใช้กลัดแบบตัดผ้าก่อนการตัดใช้กลัดผ้าเพื่อเตรียมเนาและกลัดผ้าแทนการเนาเพื่อการเย็บผ้าหรือการสอย
วิธีการใช้  ใช้กลัดผ้าเพื่อเตรียมการเนา  เพื่อการกลัดแบบตัดควรกลัดให้ห่างจากเส้นที่ต้องการกดรอย  3-4  เซนติเมตร                                                                                                                     การเก็บดูแลรักษา ควรเก็บใส่กล่องเข็มหมุดหรือปักไว้บนหมอนปักเข็ม


เข็มเย็บด้วยมือ 
ช้สำหรับ เนา สอย  เย็บติดเครื่องเกาะเกี่ยวถักรังดุมเย็บในส่วนที่จักรเย็บไม่ได้  เข็มมีอยู่ด้วยกันหลายขนาด ได้แก่ เข็มเบอร์  7-8  ใช้เย็บผ้าหนาและถักรังดุมเข็มเบอร์  9 ใช้เย็บผ้าหนาปานกลางเข็มเบอร์  10-11 ใช้เย็บผ้าบางเนื้อบางเข็มสำหรับสอยจะใช้ตั้งแต่เบอร์  9-11
วิธีการใช้  ใช้สำหรับ เนา สอย ติดเย็บเครื่องเกาะเกี่ยว ถักรังดุม
การเก็บดูแลรักษา  เข็มเย็บด้วยมือหลังจากการใช้  ถ้าจัดเก็บไม่ถูกต้องจะทำให้เป็นสนิม  เข็มที่เป็นสนิมไม่ควรนำมาใช้งานเพราะจะทำให้สนิมติดผ้า  ซักออกยาก เพื่อยืดอายุการใช้งาน ของเข็มที่เย็บด้วยมือ  เข็มที่ใช้งานบ่อย ๆ ควรเก็บใส่กล่องเข็ม ก่อนการเก็บควรเช็ดเข็มให้แห้ง หรือเช็ดด้วยน้ำมันจักร  การปักเข็มไว้ที่หมอนเข็มหลักจากการใช้งานโดยไม่เช็ดเข็มจะทำให้เข็มเกิดสนิม  ได้ง่าย  เนื่องจากเข็มทำด้วยเหล็กจึงทำปฏิกิริยากับสิ่งเปียกชื้นคือเหงื่อและอากาศ





ด้ายเย็บผ้า  
เป็นอุปกรณ์ตัดเย็บสำคัญ  ที่ใช้ในการประกอบชิ้นส่วนของเสื้อผ้าให้ติดกัน  มีหลายชนิด หลายสี 
หลายขนาดให้เลือกใช้  เมื่อจะใช้งานควรพิจารณา ให้เหมาะสมกับสี ความหนาของผ้า และขนาดของเข็ม  ด้ายที่นิยมใช้กับผ้าเกือบทุกชนิด  คือเบอร์  60 
วิธีการใช้  ควรเลือกสีด้ายให้เหมาะกับผ้า  ด้ายใช้เย็บผ้าทั่ว ๆ ไปคือเบอร์  60
การเก็บดูแลรักษา  ก่อนการเก็บหลอดด้าย  ควรนำปลายด้ายสอดไว้ในรอยบากหรือที่เก็บด้าย  ถ้าหลอดด้ายแบบไม่มีรอยบาก  ใช้เทปใสปิดปลายด้ายให้ติดกับหลอดด้าย ควรเก็บด้ายในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บหรือในลิ้นชักจักร




กรรไกรด้ามโค้ง  
เป็นกรรไกรที่ตัดได้เที่ยงตรงกว่ากรรไกรชนิดอื่น  เพราะใบกรรไกรขนานกับผ้าในขณะตัดผ้า   ข้อควรระวัง  ต้องให้กรรไกรมีความคมเท่ากันตั้งแต่โคนถึงปลายจะตัดผ้าได้ริมเรียบ
วิธีการใช้  ใช้สำหรับตัดผ้า  ควรระวังไม่ให้กรรไกรตก ไม่ควรตัดผ้าซ้อนทีละหลายชั้นหรือใช้กรรไกรตัดวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ผ้า  เพราะจะส่งผลให้กรรไกรเสียคม  ขณะใช้งานควรวางเบา ๆ
การเก็บดูแลรักษา  ควรเก็บกรรไกรไว้ในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บหรือเก็บในลิ้นชักจักร ก่อนเก็บควรเช็ดละอองผ้าที่จับอยู่ที่กรรไกรและเช็ดด้วยน้ำมันจักรเพื่อป้องกันการเป็นสนิม



ดินสอ  
ใช้สำหรับทำเครื่องหมายและขีดเส้นต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างแบบควรเหลาดินสอให้แหลมเพื่อความคมชัดของเส้น  ไม่ควรใช้ดินสอที่ไส้อ่อนจนเกินไปจะทำให้ทู่เร็ว ดินสอที่ไส้แข็งเกินไปทำให้กระดาษสร้างแบบขาดได้ง่ายและมองไม่ชัดเจน
วิธีการใช้  ใช้ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายในการสร้างแบบตัด
การเก็บดูแลรักษา  ควรจัดเก็บไว้กับยางลบใส่ไว้ในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ



ไม้ฉาก  
มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้และพลาสติกใส  มีความยาวตั้งแต่  6  เซนติเมตรขึ้นไป  มีหน่วยวัดข้างหนึ่งเป็นนิ้ว ข้างหนึ่งเป็นเซนติเมตรเช่นเดียวกับไม้บรรทัด 
วิธีการใช้  ใช้สำหรับทำมุมที่ต้องการให้เป็นมุมฉาก  หรือขีดเกรนผ้าบนแบบตัด
การเก็บดูแลรักษา  ควรจัดเก็บในกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บให้เรียบร้อย  ถ้าเป็นไม้ฉากที่ทำด้วยพลาสติก  ควรระวังรอยขูดขีดและการหัก


ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง

http://my.dek-d.com/jantana59
http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Pincushion-Tomato.jpg
apkxda.com
archive.4plebs.org
iamveho.exteen.com
pimolchai.com
http://prthai.com/

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธีทำถุงหูรูด


 วิธีทำถุงหูรูด

ในภาพเป็นวิธีการสาธิตตัวอย่างการทำถุงหูรูดให้กับถุงผ้า
ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปสามารถทำตามภาพ
หรือนำไปประยุกต์ใช้เวลาเราทำถุงผ้าได้





ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
kung - http://www.yesiquilt.com/
หนังสือนิตยสารงานฝีมือญี่ปุ่น

วิธีการเลือกซื้อผ้า


วิธีการเลือกซื้อผ้า

1. เลือกคุณสมบัติของผ้าตามวัตถุประสงค์ที่ต้องใช้  
2. ศึกษาข้อความที่เขียนติดมากับผ้าและริมผ้าอย่างละเอียด 
3. สังเกตด้วยตาและการจับต้อง 
4กะปริมาณของผ้าให้พอดีกับงานที่ใช้  
5. โอกาสใช้สอย  
6.  ความทนทาน 
7.  ความสบาย 
8.  ความสวยงาม 
9.  ความทันสมัย 
10. งบประมาณ  
11. แหล่งผลิต

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง
http://www.kr.ac.th/ebook/vilaivan/b4.htm

Comment

Formulir Kontak

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Instagram

Popular Posts